เรื่องย่อละคร สุภาพบุรุษจุฑาเทพ ตอน คุณชายปวรรุจ


สุภาพบุรุษจุฑาเทพ ตอน คุณชายปวรรุจ


 ด้วยอานุภาพแห่งความรัก ไม่ว่ายศถาบรรดาศักดิ์หรือชนชั้นใด ๆ ก็มิอาจขวางกั้นรักแท้ไปได้ เฉกเช่นกันกับ ม.ร.ว.ปวรรุจ จุฑาเทพ แม้ชาติกำเนิดฝ่ายมารดาจะดูต้อยต่ำเป็นเพียงคนรับใช้ แต่เขากลับชนะใจ หม่อมเจ้าหญิงวรรณรสา อรุณรัศมิ์ หญิงสูงศักดิ์ได้อย่างหมดใจ

เส้นทางรักของคุณชายปวรรุจนักการทูตอนาคตไกลเริ่มต้นขึ้นบนเครื่องบิน เมื่อเขาต้องเดินทางไปประชุมที่กรุงเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ และได้พบกับ รสา หญิงสาวที่ปิดบังฐานันดรศักดิ์ตนเอง เพราะไม่อยากสุงสิงกับ คุณชายรุจ คู่อริในวัยเด็กที่ชอบแกล้งเธออยู่เป็นประจำ

สิบกว่าปีที่ไม่ได้เจอะเจอกันคุณชายรุจ คุณชายรุจจึงจำเธอไม่ได้ ผิดกับรสาที่จำพี่ชายจอมแสบได้แม่นยำ ยิ่งไปกว่านั้นทั้งคู่ยังต้องมานั่งเก้าอี้ติดกันอีกด้วย แต่ตลอดการเดินทาง รสากลับเป็นฝ่ายที่ต้องได้รับการช่วยเหลือจากคุณชาย เพราะเมาเครื่องบินที่ตกหลุมอากาศ คุณชายรุจดูแลอย่างดีจนรสาเองก็แปลกใจที่นิสัยแตกต่างไปจากตอนเด็กเป็นอย่างมาก

รสาเดินทางมาพร้อมกับเพื่อนสนิทคือ เอื้อยกับอ้าย คู่แฝดเพื่อมาเซอร์ไพรส์หม่อมเจ้าภาณุทัศนัยพระคู่หมั้นถึงสถานทูต แต่รสาก็ต้องผิดหวังเมื่อทราบว่าเขาได้เดินทางไปโลซานแล้ว รสาจึงได้ตามไปหาและก็ต้องผิดหวังอย่างรุนแรง เมื่อเธอเห็นพระคู่หมั้นควงอยู่กับสาวผมทองอย่างสนิทสนม รสาเสียใจมากจึงหนีจากมาทันที


เอื้อย อ้าย สองสาวคู่แฝดจึงพารสาออกเที่ยวเพื่อรักษาแผลใจ แต่ระหว่างชมความงามทะเลสาบเจนีวา ก็ถูกโจรมืออาชีพวิ่งราวกระเป๋าซึ่งมีทั้งพาสปอร์ตและเงินเอาไปด้วย ทั้งหมดจึงตัดสินใจมาสมทบกับคุณชายปวรรุจที่เมืองมองเทอรซ์เพื่อท่องเที่ยวต่อไปจนกว่าจะถึงกำหนดกลับ แต่ทุกอย่างก็ไม่ได้เป็นไปอย่างที่คิด เมื่อคุณอิ่มหลานภริยาท่านทูตไม่ชอบหน้ารสา เพราะกลัวจะมาแย่งคุณชายปวรรุจที่เธอหมายปองอยู่ คุณอิ่มจึงคอยขัดขวางและเป็นคู่กัดรสามาตลอดทาง

หลังจากคุณชายรุจประชุมที่เจนีวาเสร็จ เขาก็พาทุกคนไปเที่ยวปราสาทเก่าแก่ของวาดดาว ซึ่งเป็นอดีตคู่รักที่เลิกราและแต่งงานกับอดีตกงสุลกิตติมศักดิ์ฐานะร่ำรวย ซึ่งการมาพบวาดดาวครั้งนี้ทำให้คุณชายรุจรู้ใจตัวเองแล้วว่าเขาได้ลืมวาดดาวหมดสิ้นแล้ว และกำลังมีใครอีกคนแทรกเข้ากลางดวงใจ คนนั้นก็คือรสา หญิงสาวสามัญชนคนธรรมดาลูกพ่อค้าที่เขาไม่เคยคิดรังเกียจนั่นเอง

ที่ปราสาทคุณชายรุจได้ปกป้องรสาจากม้าที่ตกใจวิ่งเข้าป่าไป เขาขี่ม้าตามไปช่วยเหลือและพารสากลับมาอย่างปลอดภัย ทำให้รสามองคุณชายรุจเปลี่ยนไปจากความรู้สึกเกลียดชังในอดีตกลายมาเป็นความรู้สึกดี ๆ ที่ค่อย ๆ เริ่มขึ้นจากความเอื้ออาทร ความเอาใจใส่ และความเป็นสุภาพบุรุษของคุณชายปวรรุจ

เมื่อความรู้สึกของรสาเปลี่ยนไปรสาก็เริ่มกังวลถึงเรื่องที่ได้ปิดบังฐานะที่แท้จริง ว่าจริง ๆ แล้วเธอคือ หม่อมเจ้าหญิงวรรณรสา รสาพยายามจะหาจังหวะที่จะบอกความจริงก็แสนยาก แล้วจู่ ๆ ก็เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นอีก เมื่อคุณอิ่มขับรถชนกำแพงจนหม้อน้ำแตก ทำให้ทุกคนต้องเปลี่ยนการเดินทางมาขึ้นรถไฟแทน

คุณอิ่มไม่อยากให้รสาไปด้วย จึงแกล้งพาไปห้องน้ำและล็อกประตูขังรสาไว้จนรถไฟเที่ยวสุดท้ายของวันจวนเจียนจะออก พอจวนตัวคุณชายรุจจึงอาสาไปตามและช่วยรสาออกจากห้องน้ำมาได้ แต่ก็กลับมาไม่ทัน รถไฟกำลังเคลื่อนออกพอดี ทำให้คุณชายรุจและรสาตกรถไฟต้องอยู่กันตามลำพังสองคน ทั้งคู่จึงได้มาเช่าที่พักอยู่ด้วยกันแต่ห้องพักก็เหลือเพียงห้องเดียว คุณชายรุจเสียสละห้องที่อบอุ่นออกมานอนนอกห้องที่หนาวเหน็บ เพราะเห็นว่ารสาเป็นหญิง นั่นยิ่งทำให้รสาซาบซึ้งในตัวคุณชายมากยิ่งขึ้น

วันต่อมาทั้งคู่ก็ขึ้นรถไฟตามมาสมทบกับกลุ่มและรู้ข่าวจากคุณอิ่มว่า หม่อมเจ้าภาณุทัศนัยได้ประกาศว่าพระคู่หมั้นหายไปกำลังติดตามหาตัว ทำให้รสาตกใจกลัวว่าฐานะของตัวจะถูกเปิดเผย โชคยังดีที่คุณอิ่มจำชื่อเธอไม่ได้ แต่ก็ได้ปะทะคารมกับคุณอิ่ม ทำให้รสาเผลอพูดเรื่องคุณชายรุจที่เป็นเพียงลูกของนางต้นห้องเพื่อให้คุณอิ่มได้รู้สึกผิดหวัง โดยหารู้ไม่ว่าคุณชายรุจได้ยินพอดี เขาโกรธและเดินหนีไป

รสาตามหาคุณชายรุจไปซึ่งไปขึ้นเขาและเล่นสกีออกไปจนไกล เพื่อหนีหญิงสาวที่ดูถูกชาติกำเนิดของเขา รสาจึงสกีตามไปแต่ด้วยเล่นไม่แข็งจึงถูกคนอื่นชนล้มตกหุบเหวลงไป ทำให้คุณชายรุจรู้สึกผิดรีบออกตามหา และเมื่อเจอก็พาไปหลบที่กระท่อมพักกลางป่า รสาขอโทษคุณชายและยืนยันว่าไม่เคยคิดดูถูกชาติกำเนิดของใครทั้งสิ้น คุณชายหายโกรธ ต่างปรับความเข้าใจกัน แล้วคุณชายรุจก็ได้สารภาพรักกับรสาอย่างดูดดื่มแต่ไม่มีอะไรเกินเลยกว่านี้

เมื่อทั้งคู่ลงจากเขามา หม่อมเจ้าภาณุทัศนัยได้ติดตามมาจนเจอรสาเข้าพอดี ทำให้ทุกคนตะลึงเพราะรู้ฐานะที่แท้จริงของรสาว่าคือ หม่อมเจ้าหญิงวรรณรสา พระคู่หมั้นที่หายไป คุณชายรุจผิดหวังอย่างแรงเมื่อรู้ความจริงและโกรธที่รสาไม่เคยบอกความจริงแก่เขา เขากล่าวขออภัยที่ไม่รู้ที่ต่ำที่สูง และไม่มองหน้าท่านหญิงวรรณรสาอีกเลย

หัวใจของท่านหญิงรสาเองก็แตกสลาย จึงเพียรเขียนจดหมายขอโทษแต่ก็ไม่เป็นผล เพราะคุณชายไม่แม้แต่จะเปิดอ่าน เพราะรู้ดีว่าฐานะลูกของนางต้นห้องมิบังควรอาจเอื้อมเจ้าหญิงผู้สูงศักดิ์ ที่สำคัญท่านหญิงกับพระคู่หมั้นก็เหมาะสมกันอย่างยิ่งแล้ว เขาจึงเจียมตนและไม่คิดจะดึงเจ้าหญิงสูงศักดิ์ลงมาเป็นคู่ครอง เพราะจะต้องถูกถอดยศให้เป็นคนธรรมดาถ้าได้คู่ครองต่ำศักดิ์กว่าอย่างเขา คุณชายรุจจึงตัดใจเลิกติดต่อกับท่านหญิงนับตั้งแต่นั้น

 ท่านหญิงรสาถูกส่งกลับไทยและเฝ้ารอให้คุณชายรุจกลับมาอย่างใจจดจ่อ แต่เมื่อเขากลับมาก็ไม่มีไมตรีจิตเหมือนแต่ก่อน เธอได้รับแต่ความเย็นชา แต่ด้วยความรักเต็มเปี่ยมของท่านหญิง จึงใช้วิธีเข้าหาย่าอ่อนคนที่รักเธอดั่งแก้วตา ขอให้สอนการเรือนให้ที่วังจุฑาเทพเพื่อจะได้มีโอกาสได้ใกล้ชิดกับคุณชายรุจ อย่างน้อยก็เพื่อจะกล่าวคำขอโทษด้วยตนเองสักครั้ง แต่คุณชายรุจก็ไม่เคยเปิดโอกาสเลย

จนกระทั่งในงานดนตรี คุณชายรุจได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นเลขานุการโทประจำประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทำให้ย่าอ่อนประกาศการหมั้นของ ม.ล.กระถิน เทวพรหม ที่เคยทาบทามไว้ให้คุณชายรุจด้วย ซึ่งคุณชายรุจก็รีบปฏิเสธทันที เหล่าคุณชายที่เหลือก็เชียร์ว่าคุณชายรุจมีคนที่รักอยู่แล้ว

ย่าอ่อนคาดคั้นคุณชายรุจจึงยอมรับว่าเขาเคยรักกับผู้หญิงลูกสาวพ่อค้าคนหนึ่ง แต่ตอนนี้เธอตายไปแล้ว ท่านหญิงรสาอยู่ที่นั่นด้วย โมโหจึงลุกขึ้นประกาศให้ย่าอ่อนรู้ว่า ผู้หญิงลูกพ่อคนนั้นคือท่านหญิงรสานั่นเอง และยอมรับว่าคุณชายรุจคือคนที่เธอรัก ทำให้ย่าอ่อนเป็นลมล้มพับต้องส่งโรงพยาบาล

ที่โรงพยาบาลท่านหญิงรสาถูกคุณชายรุจตัดรอนรุนแรงไม่ให้มาให้เห็นหน้าอีก ทำให้ท่านหญิงเสียใจขึ้นรถกลับบ้านระหว่างทางเจอประท้วงครั้งใหญ่ มีคนบาดเจ็บล้มตาย ท่านหญิงรสาลงมาช่วยเด็กที่พลัดหลงกับแม่จนตัวเองถูกฝูงชนวิ่งเข้าชนล้มลงบาดเจ็บสาหัส

คุณชายรุจตามมาเจอและรีบพาส่งโรพงยาบาล ท่านหญิงรสาอาการสาหัสได้รับการผ่าตัดจนอาการปลอดภัย เมื่อรู้สึกตัวก็น้อยใจที่ไม่เคยเห็นคุณชายรุจมาเยี่ยมเลย แต่จริง ๆ แล้วเขาเจียมตน คอยรอเฝ้าถามไถ่อาการอยู่แค่หน้าประตู

ส่วนหม่อมเจ้าภาณุทัศนัยถึงกับหลั่งน้ำตาด้วยความผิดหวัง เพราะท่านหญิงได้ตัดรอนและบอกความในใจไปหมดสิ้นว่า ไม่สามารถรักใครได้อีกนอกจากคุณชายปวรรุจเท่านั้น หม่อมเจ้าภาณทัศนัยจึงยอมถอนหมั้นแต่โดยดี

เมื่อท่านหญิงรสาหายดีเสด็จกลับวัง พระองค์เจ้าฉัตรอรุณก็ได้เรียกตัวคุณชายปวรรุจเข้าพบ เพื่อยืนยันในความรักที่มีต่อท่านหญิงวรรณรสายังเหมือนเดิมหรือไม่ คุณชายปวรวุจตอบความจริงจากใจว่าเขายังคงรักท่านหญิงวรรณรสาเสมอ รักอย่างหมดหัวใจ

พระองค์เจ้าฉัตรอรุณ จึงยอมยกท่านหญิงวรรณรสาให้กับคุณชายปวรรุจ ถึงแม้ท่านหญิงจะต้องถูกถอดยศหม่อมเจ้าออกไป แต่เพื่อความสุขของพระธิดาองค์เดียวย่อมเหนือกว่าฐานันดรศักดิ์ใด ๆ ทั้งคู่จึงได้เข้าพิธีแต่งงานอย่างมีความสุข ติดตามชม ละคร สุภาพบุรุษจุฑาเทพ ตอน คุณชายปวรรุจ ได้เร็ว ๆ นี้ ทางไทยทีวีสีช่อง 3

ละคร สุภาพบุรุษจุฑาเทพ  ตอน คุณชายปวรรุจ       บทประพันธ์ : ร่มแก้ว
ละคร สุภาพบุรุษจุฑาเทพ  ตอน คุณชายปวรรุจ       บทโทรทัศน์ : Sanctuary
ละคร สุภาพบุรุษจุฑาเทพ  ตอน คุณชายปวรรุจ       กำกับการแสดง : สมจริง ศรีสุภาพ
ละคร สุภาพบุรุษจุฑาเทพ  ตอน คุณชายปวรรุจ       ผลิต :ค่าย กู้ดฟิลลิ่ง
ละคร สุภาพบุรุษจุฑาเทพ  ตอน คุณชายปวรรุจ       ออกอากาศทุกวัน:ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ เวลา 20.30 น.

ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ              รับบท   หม่อมราชองค์ปวรรุจ  ใน ละครสุภาพบุรุษจุฑาเทพ ตอน คุณชายปวรรุจ
นิษฐา จิรยั่งยืน                     รับบท   หม่อมเจ้าหญิงวรรณสา  ใน ละครสุภาพบุรุษจุฑาเทพ ตอน คุณชายปวรรุจ
จารุวรรณ ปัญโญภาส              รับบท   ย่าเอียด  ใน ละครสุภาพบุรุษจุฑาเทพ ตอน คุณชายปวรรุจ
ดวงตา ตุงคะมณี                   รับบท   ย่าอ่อน  ใน ละครสุภาพบุรุษจุฑาเทพ ตอน คุณชายปวรรุจ
เกรียงไกร อุณหะนันทน์           รับบท   พระองค์เจ้าฉัตรอรุณ  ใน ละครสุภาพบุรุษจุฑาเทพ ตอน คุณชายปวรรุจ
ดิลก ทองวัฒนา                    รับบท   ม.ร.ว.เทวพันธ์  ใน ละครสุภาพบุรุษจุฑาเทพ ตอน คุณชายปวรรุจ
ธนา ฉัตรปริรักษ์                   รับบท   ปกรณ์  ใน ละครสุภาพบุรุษจุฑาเทพ ตอน คุณชายปวรรุจ
พศิน เรืองวุฒิ                          รับบท   หม่อมเจ้าภาณุทัศนัย  ใน ละครสุภาพบุรุษจุฑาเทพ ตอน คุณชายปวรรุจ

ขอบคุณที่มา http://movie.sanook.com/34262/

รวมรูปภาพ วันสงกรานต์

รวมรูปภาพ วันสงกรานต์








ชมรูปสาวๆ ในวันสงกรานต์ ของปีอื่นๆ ได้ที่นี่ http://songkran.sanook.com/

ประวัติความเป็นมาของวันสงกรานต์


ประวัติความเป็นมาของวันสงกรานต์
"สงกรานต์" เป็นคำภาษาสันสกฤต แปลว่า "ผ่าน" หรือ "เคลื่อนย้ายเข้าไป" ในที่นี้หมายถึงเป็นวันที่พระอาทิตย์ ผ่านหรือเคลื่อนย้าย จากราศีมีน เข้าสู่ ราศีเมษ ในเดือนเมษายน ถือเป็นช่วงสงกรานต์หากพระอาทิตย์เคลื่อนย้าย ในช่วงเดือนอื่น ๆ ถือเป็นการเคลื่อนย้ายธรรมดา ตามปกตินั้น พระอาทิตย์จะย้ายจากราศีหนึ่งไปสู่อีกกลุ่มดาวหนึ่งเป็นประจำทุกเดือน หรือจะเรียกว่าเป็นการย้ายจากกลุ่มดาวหนึ่งไปสู่อีกกลุ่มดาวหนึ่ง ตามหลักโหราศาสตร์หรือภาษาโหร เรียกว่า"ยกขึ้นสู่" ตัวอย่างเช่น พระอาทิตย์ขึ้นสู่ราศีเมษ ก็คือการที่พระอาทิตย์ย้ายจากกลุ่มดาวราศีมีนไปสู่กลุ่มดาวราศีเมษ ซึ่งเป็นราศีถัดไปนั่นเอง
โหรโบราณ ได้แบ่งท้องฟ้าออกเป็น 12 ส่วน ส่วนหนึ่ง ๆ เรียกว่าราศี ซึ่งมีราศีละ 30 องศา รวม 12 ราศี ก็เท่ากับ 360 องศาครบรอบวงกลมพอดี ตามตัวอย่างข้างล่างนี้

ราศีเมษ
เกิดระหว่างวันที่ 13 เมษายน-13 พฤษภาคม
ราศีพฤษภ
เกิดระหว่างวันที่ 14 พฤษภาคม - 13 มิถุนายน
ราศีเมถุน เกิดระหว่างวันที่ 14 มิถุนายน -14 กรกฎาคม
ราศีกรกฎ
เกิดระหว่างวันที่ 15 กรกฎาคม - 16 สิงหาคม
ราศีสิงห์
เกิดระหว่างวันที่ 17สิงหาคม -16 กันยายน
ราศีกันย์
เกิดระหว่างวันที่ 17 กันยายน - 16 ตุลาคม
ราศีตุล
เกิดระหว่างวันที่ 17 ตุลาคม - 16 พฤศจิกายน
ราศีพิจิก
เกิดระหว่างวันที่ 17 พฤศจิกายน - 15 ธันวาคม
ราศีธนู เกิดระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม - 15 มกราคม
ราศีมังกร เกิดระหว่างวันที่ 16 มกราคม - 12 กุมภาพันธ์
ราศีกุมภ์ เกิดระหว่างวันที่ 13 กุมภาพันธ์ - 13 มีนาคม
ราศีมีน
เกิดระหว่างวันที่ 14 มีนาคม - 12 เมษายน

ด้วยเหตุนี้ เมื่อสงกรานต์ แปลว่า ผ่าน หรือ เคลื่อนย้ายเข้าไป วันสงกรานต์จึงต้องมีอยู่ประจำทุกเดือน เพราะดวงอาทิตย์จะย้ายจากราศีหนึ่ง ไปสู่อีกราศีหนึ่งซึ่งอยู่ถัดไปเดือนละ 1 ครั้ง เสมอ
แต่ในวันและเวลาที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ (ตามภาษาโหร) หรือเคลื่อนย้ายจากราศีมีนเข้าไปสู่ราศีเมษ ในเดือน เมษายน (ซึ่งตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5) เราถือเป็นกรณีพิเศษ เรียกว่าวันมหาสงกรานต์ด้วยถือกันว่าเป็นวันและแวลาที่ตั้งต้นสู่ปีใหม่ เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ ตามการคำนวณของโหรผู้รู้ทางโหราศาสตร์ เพราะในสมัยโบราณเรานับถือเดือนเมษายนเป็นเดือนแรกของปี สมัยพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ.2432 ได้กำหนดให้ใช้ วันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 ซึ่งตรงกับวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ และได้ใช้เรื่อยมา สาเหตุก็เพราะสอดคล้องกับธรรมเนียมโบราณ เนื่องจาก หากนับทางจันทรคติ จะตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 ซึ่งก็คือวันสงกรานต์ หรือวันที่ดวงอาทิตย์ย้ายจากราศีมีนไปสู่ราศีเมษนั่นเอง
และได้มีการใช้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันปีใหม่ของไทยแต่นั้นเรื่อย มาแม้ว่าในปีต่อไปจะไม่ตรงกับวันสงกรานต์ (หมายถึงวันที่ดวงอาทิตย์ย้ายจากราศีมีน ไปสู่ราศีเมษ) ทั้งนี้เพื่อให้มีการกำหนดวันทางสุริยคติที่แน่นอนตายตัวลงไป
ต่อมาในวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ.2483 คณะรัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลย์สงคราม ได้ประกาศให้ใช้วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2484 เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับประเทศอื่น ๆ เป็นสากลทั่วโลกและใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นเรายังถือเอาวันที่ 14 เมษายนเป็นวันครอบครัว อีกด้วย
วันมหาสงกรานต์
เมื่อถึงเดือน 5 ตรงกับวันที่ 13 เมษายนของทุก ๆ ปีเราเรียกวันนี้ว่า วันสงกรานต์ " ประเพณีไทยเดิมถือว่าวันนี้เป็นวันขึ้นปีใหม่ธรรมเนียมไทยเราก็จะมีการเล่น รื่นเริง มีการรดน้ำดำหัวโดยเฉพาะหนุ่มๆ สาวๆ จะสนุกกันเต็มที่เล่นสาดน้ำกันโดยไม่ถือเนื้อถือตัวเลย ในชนบทหลายแห่ง มีการเล่นพื้นเมืองต่าง ๆ กัน อนึ่งวันนี้บางแห่งจะเริ่มจากวันที่ ๑๓ เมษายน และมีการเล่นสนุกสนานไปราว ๆ๑ สัปดาห์ หรือกว่านั้น แต่ไม่เกิน 2 สัปดาห์ ระยะนี้จะมีการนำน้ำหอมเสื้อผ้าอาภรณ์ไปรดน้ำผู้ใหญ่
ญาติพี่น้องที่เคารพนับถือและทางศาสนาก็จัดให้มีการบายศรีพระสงฆ์สมภารเจ้าวัด
สรงน้ำพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เท่าที่มีตามวัดต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง

อ่านข้อมูลวันสงกรานต์ เพิ่มเติม